AIA_Health ประกันสุขภาพ และชดเชยรายได้

      การประกันเพื่อคุ้มครองสุขภาพนั้น เป็นการประกันภัยที่บริษัทผู้รับประกันภัย ตกลงชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าการรักษาพยาบาลนั้นจะเกิดจากการเจ็บป่วย หรือจากอุบัติเหตุก็ตาม รวมทั้งค่าชดเชยที่ผู้เอาประกันต้องขาดไปซึ่งรายได้ประจำ จากการที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล ซึ่งในปัจจุบันนี้ค่ารักษาพยาบาลเป็นสิ่งที่หลายๆคนมีความกังวล เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่สูงขึ้นกว่าเดิมมาก จนเกิดผลกระทบต่อแผนการเงินที่ได้วางแผนไว้ หรือกระทบต่อเงินออมที่ได้เก็บสะสมไว้
        ดังนั้นการทำประกันสุขภาพ จึงถือได้ว่าเป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย ที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลได้ในระดับหนึ่ง การประกันสุขภาพ จึงเป็นการบริหารความเสี่ยง โดยเราสามารถโอนความเสี่ยงในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล หรือค่าชดเชยการที่ต้องสูญเสียรายได้ในระหว่ารักษาตัว ไปให้บริษัทประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆได้

ความคุ้มครองสัญญาเพิ่มเติม

        สัญญาเพิ่มเติม เป็นสัญญาที่สามารถซื้อเพิ่มเติม โดยการพ่วงกับสัญญาหลักแบบใดแบบหนึ่งก่อนจึงจะซื้อประกันสุขภาพแนบเพิ่มเติมเข้าไปได้ และเนื่องจากสัญญาเพิ่มเติมนี้ เป็นสัญญาประกันวินาศภัยแบบหนึ่ง ดังนั้นเบี้ยประกันสำหรับสัญญาเพิ่มเติมนี้เป็นแบบเบี้ยสูญเปล่า ไม่มีส่วนของการออม
        ในการเลือกสัญญาประกันชีวิตที่จะมาเป็นสัญญาหลักสำหรับแนบประกันสุขภาพเพิ่มเติมนั้น ต้องวางแผนในตอนเริ่มต้นว่าจะซื้อเป็นประกันชีวิตประเภทใด ซึ่งประกันชีวิตที่สามารถนำมาแนบประกันสุขภาพเพิ่มได้นั้น ก็จะมีให้เลือกตั้งแต่ ประกันชีวิตตลอดชีพ ประกันสะสมทรัพย์ ประกันชีวิตควบการลงทุน ฯลฯ
        แต่มีข้อแนะนำว่า ประกันชีวิตที่เหมาะสมสำหรับนำมาแนบประกันสุขภาพที่ดีนั้น ควรจะเป็นประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองยาว เช่นแบบตลอดชีพ หรือแบบยูนิตลิงค์ เพราะหากสัญญาหลักมีความคุ้มครองที่สั้น เมื่อประกันชีวิตที่เป็นสัญญาหลักสิ้นสุดลง สัญญาเพิ่มเติมที่เป็นประกันสุขภาพ ก็เป็นอันสิ้นสุดลงไปด้วย หากกรณีที่ผู้เอาประกันมีประวัติสุขภาพ ประวัติเจ็บป่วยติดตัวไปแล้ว การเริ่มทำประกันสุขภาพเล่มใหม่ อาจจะทำได้ยากขึ้น หรือในบางกรณีหากมีประวัติการเจ็บป่วยแบบรุนแรง ก็อาจจะไม่สามารถทำประกันสุขภาพได้อีกเลย

ข้อแนะนำก่อนเลือกทำประกันสุขภาพ


สัญญาเพิ่มเติมการชดเชยค่ารักษาพยาบาล (ประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่)
        ในปัจจุบัน เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก แต่ก็ต้องยอมแลกด้วยค่ารักษาพยาบาลมีแต่จะสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อที่จะได้ไม่ต้องสูญเสียเงินจำนวนมากในการรักษา การทำประกันสุขภาพ ก็เป็นอีกทางหนึ่ง ที่จะช่วยลดภาระทางการเงินในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลได้ ซึ่งสัญญาเพิ่มเติมในกลุ่มของการชดเชยค่ารักษาพยาบาล แบ่งออกได้เป็น

  1. ประกันสุขภาพผู้ป่วยในแบบแยกรายการ
  2.         เป็นประกันที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในให้เรา โดยจะแบ่งหมวดหมู่ค่ารักษาพยาบาลออกเป็นหลายหมวดด้วยกัน และมีเพดานกำหนดค่าใช้จ่ายในแต่ละหมวด ถ้าหมวดใดหมวดหนึ่งมีค่ารักษาเกินจากเพดานที่กำหนด จะต้องออกค่าใช้จ่ายส่วนเกินเอง ส่วนมากแล้ว จะแบ่งผลประโยชน์เป็นกรณีผู้ป่วยใน และกรณีไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน และเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับเทคโนโลยีวิธีการรักษาทางการแพทย์ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงแบ่งออกเป็นหมวดหลักๆ 13 หมวดดังนี้

    กรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
    • หมวดที่ 1 ค่าห้องและค่าอาหาร ค่าบริการในโรงพยาบาล
      • ค่าห้องผู้ป่วยวิกฤต (ICU)
      • ค่าห้องผู้ป่วยทั่วไป
      • ค่าอาหาร (กรณีผู้ป่วยใน)
      • ค่าบริการในโรงพยาบาล (กรณีผู้ป่วยใน)
    • หมวดที่ 2 ค่าบริการทางการแพทย์
      • ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย
      • ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษา
      • ค่าแพทย์อ่านผลตรวจต่างๆ
      • ค่าบริการโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต
      • ค่าบริการทางการพยาบาล ไม่รวม ค่าพยาบาลเฝ้าไข้พิเศษ
      • ค่ากายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด
      • ค่ายา ค่าสารอาหารทางหลอดเลือด
      • ค่ารังสีรักษา เวชศาสตร์นิวเคลียร์ รวมถึงการฝังแร่
      • ค่าบริการเครื่องมือแพทย์
      • ค่าบริการกายอุปกรณ์ (ไม่รวมค่าอุปกรณ์)
      • ค่าบริการชุดเหมาจ่ายการรักษาพยาบาลบำบัดการรักษา
      • ค่ายาและเวชภัณฑ์สิ้นเปลือง (เวชภัณฑ์1) สำหรับกลับบ้าน
    • หมวดที่ 3 ค่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม(แพทย์)
      • ค่าแพทย์เยี่ยมไข้ (Doctor Fee)
    • หมวดที่ 4 ค่ารักษาพยาบาลโดยการผ่าตัด (ศัลยกรรม) และหัตถการ
      • ค่าห้องผ่าตัดและค่าห้องทำหัตถการ
      • ค่ายาและสารอาหารทางหลอดเลือด
      • ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์การผ่าตัดและหัตถการ
      • ค่าแพทย์ศัลยกรรม ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด (Doctor Fee)
      • ค่าแพทย์ทำหัตถการ ค่าแพทย์ผู้ช่วยผ่าตัด ค่าวิสัญญีแพทย์
      • ค่ารักษาพยาบาลโดยการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
    • หมวดที่ 5 การผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (Day Surgery)
      • จ่ายผลประโยชน์เสมือนการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาล

    กรณีไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
    • หมวดที่ 6 ค่าบริการทางการแพทย์ก่อนและหลังนอนโรงพยาบาล
      • ค่าบริการเพื่อตรวจวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องโดยตรง ภายใน 30 วันก่อนหรือหลังการเป็นผู้ป่วยในครั้งนั้น
      • ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกหลังการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (Follow-up) ภายใน 30 วัน หลังออกจากโรงพยาบาล
    • หมวดที่ 7 ค่ารักษาพยาบาลการบาดเจ็บ กรณีผู้ป่วยนอกภายใน 24 ชั่วโมงของการเกิดอุบัติเหตุต่อครั้ง
      • ผลประโยชน์สำหรับค่ารักษาพยาบาล การบาดเจ็บเนื่องจากอุบัติเหตุ
      • รักษาในแผนกฉุกเฉินหรือแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล
      • เข้ารับการรักษาภายใน 24 ชั่วโมงนับจากเวลาที่เกิดเหตุ
    • หมวดที่ 8 ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูหลังการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
      • ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟู ค่าบริการกายภาพบำบัด ค่ากิจกรรมบำบัด
      • ค่าประกอบวิชาชีพแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือนักกายภาพบำบัด
      • ค่าเครื่องมือและเวชภัณฑ์สำหรับการรักษาต่อเนื่องแผนกผู้ป่วยนอก หลังการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
    • หมวดที่ 9 ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาโรคไตวายเรื้อรัง
      • โดยการล้างไตผ่านทางเส้นเลือด(Hemodialysis)
    • หมวดที่ 10 ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาโรคมะเร็ง
      • โดยรังสีรักษา รังสีร่วมรักษา
      • โดยเวชศาสตร์นิวเคลียร์รักษา รวมถึงการฝังแร่รักษามะเร็ง
      • ค่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสำหรับรังสีแพทย์ที่ให้การบำบัดรักษา
    • หมวดที่ 11 ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการรักษาโรคมะเร็งโดยเคมีบำบัด
      • ค่ายาเคมีบำบัดรวมถึงค่าบริการทางการแพทย์
      • การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy)
      • ค่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสำหรับแพทย์ที่ให้การบำบัดรักษา
    • หมวดที่ 12 ค่าบริการรถพยาบาลฉุกเฉิน
      • สำหรับการเคลื่อนย้ายไปหรือมาจากโรงพยาบาล ตามความจำเป็นทางการแพทย์ ที่ต้องใช้รถพยาบาลใน กรณีฉุกเฉิน
      • ค่ายา เวชภัณฑ์ ค่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่เกิดขึ้นขณะอยู่ในรถพยาบาลฉุกเฉิน ก่อนการเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล
    • หมวดที่ 13 ค่ารักษาพยาบาลโดยการผ่าตัดเล็ก
    • สำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย โดยการผ่าตัดเล็ก

  3. ประกันสุขภาพผู้ป่วยในแบบเหมาจ่าย เป็นประกันสุขภาพแบบใหม่ ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นมากในปัจจุบัน เป็นการเหมาจ่ายโดยการกำหนดจำนวนวงเงินสูงสุดที่จะสามารถเบิกชดเชยได้ในแต่ละปี





ความแตกต่างของประกันสุขภาพเหมาจ่ายกับแยกรายการ


        แผนประกันสุขภาพประเภท ชดเชยค่ารักษาพยาบาล หลักๆ จะมี 2 รูปแบบ คือ

        1. ประกันสุขภาพเหมาจ่าย : เป็นประกันสุขภาพที่ไม่ได้มีกำหนดวงเงินค่ารักษาพยาบาลในแต่ละครั้งไว้ (ยกเว้นค่าห้อง) โดยกำหนดเพียงวงเงินค่ารักษาพยาบาลแบบต่อปี จะไม่กำหนดแยกเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่จะจ่ายให้ตามจริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันสูงสุดในแต่ละปีกรมธรรม์ ซึ่งค่าเบี้ยประกันจะสูงกว่าประกันสุขภาพแบบแยกค่าค่ารักษา แต่จะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายมากกว่า ด้วยวงเงินเหมาจ่ายค่ารักษาต่อปีที่ค่อนข้างสูงถึงหลักล้าน ทำให้มีโอกาสครอบคลุมค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริงมากกว่า มีรายการคุ้มครองหลายรายการ มากกว่าแบบแยกค่ารักษา แต่อาจมีค่าใช้จ่ายบางรายการ ที่อาจจะจำกัดวงเงินค่ารักษาไว้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนประกันที่ทำไว้
             - ข้อดี คือ สามารถเลือกโรงพยาบาลที่จะเข้ารักษาได้ โดยไม่ต้องกังวลเองค่าใช้จ่าย หากต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลส่วนเกิน
             - ข้อเสีย คือ เบี้ยประกันในแต่ละปีค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเมื่ออายุสูงๆ AIA Infinit Care, AIA Health Happy
 
        2. ประกันสุขภาพแยกค่ารักษา : ประกันแบบนี้เบี้ยประกันจะถูกกว่าแบบเหมาจ่าย โดยสามารถเบิกค่ารักษาได้ตามวงเงินความคุ้มครองให้แต่ละรายการแยกตามที่กำหนดไว้ เช่น ค่าห้อง ค่าผ่าตัด ค่ายา เป็นต้น การจ่ายค่ารักษาเป็นตามค่าใช้จ่ายจริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกัน ซึ่งสามารถเบิกได้ต่อครั้งต่อโรค โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง หรือค่ารักษารวมในแต่ละปีกรมธรรม์ ดังนั้นหากในปีนั้นๆเราเกิดเจ็บป่วยด้วยหลายโรค หรือป่วยโรคเดียวกันแต่เป็นหลายครั้ง โดยการเจ็บป่วยแต่ละครั้งมีระยะห่างกันตามที่แผนประกันระบุ ก็จะทำให้สามารถเบิกวงเงินที่เริ่มนับใหม่ได้เรื่อยๆไม่จำกัด
            - ข้อดี คือ เบี้ยประกันค่อนข้างต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ยังสุขภาพแข็งแรง หรือมีสวัสดิการอื่นๆอยู่แล้ว
            - ข้อเสีย คือ หากต้้องเจ็บป่วยหนักๆ หรือเป็นโรคร้ายแรง ค่ารักษาที่มีอยู่อาจจะไม่เพียงพอ AIA H&S, AIA H&S Eatra
ข้อแนะนำก่อนเลือกทำประกันสุขภาพ


ชดเชยรายรายวัน ในการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
        ถ้าหากว่ามีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับเรา แล้วส่งผลให้เราต้องหยุดทำงาน ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุการเจ็บป่วย การพักรักษาตัวจากอุบัติเหตุ ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางการเงินทั้งสิ้น ทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายในการพักรักษาตัว และในบางคนที่ทำงานส่วนตัว ก็จะขาดรายได้ประจำวันไป หรือเป็นลูกจ้างแต่ต้องหยุดงานนานๆ บริษัทก็อาจจะเลิกจ้าง ทำให้ขาดรายได้จากการหยุดงานไป
        ประกันประเภทนี้ จะจ่ายค่าสินไหมให้เรา โดยคิดตามจำนวนวันที่เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล เป็นค่าชดเชยต่อวัน เช่น ทำประกันชดเชยรายได้ วันละ 1,000 บาท เข้ารักษาตัว 5 วัน บริษัทจะจ่ายเงินสินไหมชดเชยให้ 5,000 บาท ผู้ที่เหมาะจะทำประกันประเภทนี้ คือผู้ที่ได้รายได้เป็นรายวัน เช่น ลูกจ้างรายวัน พ่อค้าแม่ค้า ที่ขาดรายได้ถ้าไม่เปิดร้านขายของ หรือแม้แต่เจ้าของกิจการ ที่รายได้จะมีผลกระทบถ้าหากเจ้าของต้องหยุดทำงาน เป็นต้น
 



การต่ออายุสัญญากรมธรรม์
  • สัญญาเพิ่มเติมนี้มีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี และจะต่ออายุกรณีครบปีกรมธรรม์ (Renewal) ยกเว้นในกรณีดังต่อไปนี้ที่บริษัทไม่ต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ
    • มีหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัยไม่แถลงข้อความจริงในใบคำขอเอาประกันภัยหรือใบคำขอต่ออายุ (Reinstatement) ใบแถลงสุขภาพ ซึ่งข้อความจริงนั้นจะทำให้บริษัทเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือปฏิเสธรับประกัน
    • ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องผลประโยชน์จากการรักษาอาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยโดยไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์
    • ผู้เอาประกันภัยเรียกผลประโยชน์ค่าชดเชยจากการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมกันทุกบริษัทเกินกว่ารายได้ที่แท้จริง
    • ผู้เอาประกันภัยฉ้อฉลประกันภัย
1) ระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting Period) 30 วัน
  • บริษัทปฏิเสธการจ่ายการป่วยที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพเริ่มมีผลบังคับ
2) การป่วยที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 120 วัน
  • บริษัทปฏิเสธการจ่ายโรค เนื้องอก ถุงน้ำ หรือมะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวาร ไส้เลื่อนทุกชนิด ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก การตัดทอนซิล หรืออดีนอยด์ นิ่วทุกชนิด เส้นเลือดขอดที่ขา เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ โดยเป็นการป่วยที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 120 วัน นับแต่วันที่สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพเริ่มมีผลบังคับ
3) ข้อยกเว้นและกรณีที่ไม่คุ้มครอง
  • ข้อยกเว้นทั่วไปที่ระบุในเงื่อนไขของสัญญากรมธรรม์
  • การยกเว้นหรือการไม่คุ้มครอง ตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงคุ้มครอง
  • สภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย (Pre-existing Condition)
  • การฉ้อฉลประกันภัย


สัญญาเพิ่มเติม เพื่อการคุ้มครองสุขภาพและชดเชยรายได้

เอไอเอ เอชบี เอ็กซ์ตร้า AIA HB EXTRAสัญญาเพิ่มเติม ค่าชดเชยรายวันการเข้ารักษาในโรงพยาบาล HBเอไอเอ เฮลธ์ แฮปปี้ AIA HEALTH HAPPYเอไอเอ เฮลธ์ แฮปปี้ คิดส์ AIA HEALTH HAPPY KIDSเอไอเอ เฮลธ์ เซฟเวอร์ AIA HEALTH SAVERเอไอเอ เฮลธ์ พลัส AIA HEALTH PLUSเอไอเอ เอช แอนด์ เอส เอ็กซ์ตร้า (แบบมาตรฐานใหม่) AIA H&S EXTRA (NEW STANDARD)เอไอเอ เอช แอนด์ เอส (แบบมาตรฐานใหม่) AIA H&S (NEW STANDARD)เอไอเอ อินฟินิท แคร์ แบบมาตรฐานใหม่) AIA INFINITE CARE (NEW STANDARD)

สอบถามรายละเอียด


 
 
โทรติดต่อ 081-3736386
ช่องทางติดต่อ Tiktok ปราบ ประกันชีวิต
ช่องทางติดต่อ Line OA ปราบ ประกันชีวิต
ช่องทางติดต่อ Facebook ปราบ ประกันชีวิต
เพิ่มเพื่อนด้วย Line OA
 

คำเตือน: ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
สงวนลิขสิทธิ์ © 2566 ทีมงานตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาด้านการเงิน ปราบ ประกันชีวิต
เว็บไซต์นี้ไม่ใช่เว็บไซต์ของบริษัท เอไอเอ จำกัด (เอไอเอ) หากต้องการติดต่อ บ. เอไอเอ กรุณาคลิก www.aia.co.th