ประกันชีวิตแบบรายได้ประจำ หรือแบบบำนาญ (Annuity Insurance) เป็นแบบประกันที่ให้การคุ้มครองรายได้ของผู้เอาประกันหลังเกษียณอายุการทำงาน โดยบริษัทประกันจะจ่ายผลประโยชน์เป็นรายเดือน หรือรายปีเป็นงวดๆอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าผู้เอาประกันจะเสียชีวิต หรือตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา การประกับแบบนี้จะเน้นเรื่องการออมทรัพย์มากกว่าการคุ้มครองชีวิต โดยผู้เอาประกันจะได้รับผลประโยชน์สูงสุด ต่อเมื่อมีชีวิตอยู่จนครบอายุสัญญา
ข้อดี
1.ให้ความมั่นใจว่า ในยามที่ไม่มีรายได้จากการทำงานแล้ว ยังมีเงินที่สามารถนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้
2. สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมเพื่อการคุ้มครอง ในเรื่องของสุขภาพต่อเนื่องได้ ซึงค่ารักษาพยาบาลค่อนข้างจะสูงสำหรับบุคคลวัยหลังเกษียณ
3. เถึงแม้จะอยู่ไม่ครบกำหนดอายุสัญญา ก็ยังมีเงินบางส่วนที่สามารถส่งต่อให้กับคนข้างหลังได้
4. ได้สิทธิในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประกาศของกรมสรรพากร สูงสุดถึง 300,000 บาท
ข้อเสีย
1. กว่าจะได้รับผลประโยชน์จากสัญญาระยะเวลาค่อนข้างนาน หากผู้เอาประกันไม่มีความตั้งใจ หรือมีแผนการเกษียณที่แน่นอนแล้วจะทำให้ล้มเลิกสัญญาได้
2. สำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนการเกษียณด้วยประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่มีอายุค่อนข่างสูง เบี้ยประกันที่จะต้องชำระจะสูงขึ้นตามอายุไปด้วย แต่จะมีประโยชน์อย่างมาก หากเริ่มต้นตั้งแต่อายุยังน้อย
ความเหมาะสม
1. บุคคลที่มีการวางแผนเรื่องของการเกษียณ เพื่อไม่ให้เป็นภาระของบุตรหลานและสังคม
2. ผู้ที่คาดว่าตนเองจะมีอายุยืนยาวหลังเกษียณ โดยมีเงินไว้ใช้จ่ายในยามชรา ซึ่งมีรายได้ลดลงหรืออาจไม่มีรายได้แล้ว แต่รายจ่ายยังคงมีต่อไป และอาจเพิ่มขึ้นด้วยในส่วนของเรื่องค่ารักษาพยาบาล และบุคคลที่ต้องมาดูแล
การประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นการประกันชีวิต ที่ผู้เอาประกันคาดถึงอายุที่ยืนยาวของตน ที่อาจทำให้ในช่วงวัยหลังเกษียณไม่มีรายได้ที่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่ยังมีอยู่ และอาจจะสูงขึ้นในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล จึงได้เห็นถึงความสำคัญของหลักประกัน ที่จะได้รับผลประโยชน์ภาหลังการเกษียณเป็นรายเดือน หรือรายปี มากกว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับในปัจจุบัน
1. ต้องเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการทำประกันชีวิตแบบบำนาญก่อน ว่าผลประโยชน์ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นภายหลังจากเกษียณอายุไปแล้ว
2. ต้องทราบจำนวนเงินที่ต้องการใช้หลังเกษียณ
จากสภาวะสังคมในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก สังเกตได้จากแผนภูมิแสดงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุ ต่อประชากรวัยทำงานมีสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้มีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนขึ้น นั่นแสดงว่าประชากรวัยทำงาน 1 คน จะต้องทำงานเพื่อดูแลผู้สูงอายุในจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากอดีต
คนวันเกษียณ
ทำให้การวางแผนในเรื่องการออมเงินเพื่อใช้จ่ายในช่วงหลังการเกษียณ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ทั้งจากค่าใช้จ่ายประจำวันที่ต้องเพิ่มขึ้นตามอายุแล้ว ในเรื่องค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุก็เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมไว้ด้วย เป็นผลให้เงินออมที่เก็บไว้เริ่มลดลงทุกที ดังนั้นหากเงินออมมีไม่พอแล้ว อาจต้องเป็นภาระของลูกหลานเพิ่มขึ้นวัยเกษียณ
การวางแผนการเกษียณกับประกันชีวิตแบบบำนาญ ก็เพื่อเป็นการรองรับค่าใช้จ่ายต่างๆในอนาคต หากเราไม่ได้มีการวางแผนในเรื่องค่าใช้จ่ายหลังเกษียณไว้แล้ว การดำเนินชีวิตภายหลังการเกษียณ คงเป็นไปด้วยความยากลำบาก อีกทั้งยังอาจเป็นภาระให้กับครอบครัวอีกด้วย ดังนั้นการวางแผนในเรื่องของการเกษียณ ควรเริ่มต้นเสียตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อให้การวางแผนนั้นเป็นไปอย่างรอบคอบ และคลอบคลุมค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วย
1. กำหนดเป้าหมาย
หรือความต้องการหลังเกษียณ เป้าหมายหรือความต้องการนี้ ขึ้นอยู่กับวิถีการใช้ชีวิตและสถานภาพของแต่ละบุคคล ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทราบว่า หลังเกษียณแล้ว เรามีความต้องการที่จะดำเนินชีวิตไนลักษณะใด
2. กำหนดอายุ
ว่าจะเกษียณตอนอายุเท่าไหร่ และคาดการณ์ถึงอายุที่จะสิ้นอายุขัยด้วย เพราะอายุที่คาดว่าจะเกษียณ จะเป็นตัวกำหนดว่า เรามีเวลาในการที่จะทำงานเพื่อเก็บเงินได้อีกกี่ปี ส่วนอายุที่จะสิ้นอายุขัยนั้นจะเป็นตัวกำหนดว่า เราจะต้องใช้เงินต่อไปอีกกี่ปี ในขณะที่ไม่มีรายได้เข้ามา
3. ประมาณการค่าใช้จ่าย ที่จะต้องใช้ในช่วงระยะเวลาหลังเกษียณไปจนถึง ระยะเวลาที่คาดว่าจะสิ้นอายุขัย โดยประมาณการได้จากลักษณะการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน แต่ต้องไม่ลืมในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อประกอบด้วย เพราะฉะนั้นจำนวนเงินที่ต้องการในอนาคต จะต้องมากกว่าปัจจุบันเสมอ ตามอัตราเงินเฟ้อต่อปี
4. ตรวจสอบทรัพย์สิน ดูว่า ณ.ขณะที่ถึงอายุที่คาดว่าจะเกษียณนั้น จะมีทรัพย์สินหรือรายได้ที่จะสามารถแปลงมาเป็นค่าใช้จ่ายในยามเกษียณ หรือเงินกองทุนที่ได้เตรียมไว้ใช้ยามเกษียณ มีมูลค่าเป็นเท่าไหร่
5. เปรียบเทียบระหว่างจำนวนเงินที่ต้องใช้หลังเกษียณ กับจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่ได้เตรียมไว้แล้ว
ว่าเพียงพอหรือไม่ หากมีเพียงพอแล้ว ก็ถือว่าได้มีการวางแผนไว้ในระดับหนึ่งแล้ว แต่ต้องไม่ลืมในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายต่างๆเกี่ยวกับบุคคลที่จะต้องมาดูแลในยามเกษียณด้วย ซึ่งนับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากๆเลยทีเดียว
แต่ถ้าเปรียบเทียบแล้ว ปรากฏว่าจำนวนเงินที่เตรียมไว้ไม่ยังเพียงพอ ก็ต้องมาคำนวณดูว่าจะต้องเก็บออมเพิ่มอีกเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อความต้องการ
6. กำหนดวิธีการที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออมเงินเพิ่ม ทางเลือกยามเกษียณการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การหารายได้ให้มากขึ้น หรือการลงทุนเพื่อให้มีดอกผลเติบโตเพิ่มขึ้น เป็นต้น
7. เขียนแผนการเกษียณออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและตัวเลข เพื่อที่จะได้ทราบถึงกรอบความเป็นไปได้ของแผนที่ได้จัดทำขึ้น และเพื่อที่จะได้ทำการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข ก่อนนำแผนออกไปใช้
8. นำแผนที่ได้จัดทำออกไปสู่การปฏิบัติ แผนที่จัดทำแล้วจะไม่สามารถสำเร็จได้เลย หากปราศจากการนำไปปฏิบัติ หากเกิดปัญหาใดๆจะได้ทำการแก้ไขได้ทันท่วงที
9. ทบทวนและปรับปรุงแผนให้เหมาะสมอยู่เสมอ เป็นไปไม่ได้ที่แผนการเกษียณนี้ทำครั้งเดียว จะสามารถนำไปใช้ได้จนถึงเวลาเกษียณอายุจริงๆ เนื่องจากเป็นการวางแผนระยะยาว ทำให้ในระหว่างปฏิบัติตามแผนนั้นอาจมีปัจจัยภายนอกมากระทบ ทำให้แผนที่วางไว้คลาดเคลื่อนไปได้
ประกันชีวิตแบบบำนาญ (ลดหย่อนภาษีได้)