AIA_Health ประกันสุขภาพ และชดเชยรายได้

  การประกันชีวิตนอกจากในเรื่องของการสร้างความมั่นใจในการดำเนินชีวิต และบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายอันเกิดจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันแล้วยังมีผลประโยชน์ในทางภาษี ที่สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้สูงสุดถึง 340,000 บาท

ประเภทของประกันที่ลดหย่อนภาษีได้ มี 3 ประเภท

  1. ประกันชีวิตทั่วไป เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิตแก่ผู้เอาประกัน โดยหากเอาำประกันเสียชีวิต บริษัทประกันก็จะจ่ายเงินตามทุนประกัน ให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ ซึ่งอาจจะมีเงินคืนตามสัญญา หรือครบสัญญาด้วยก็ได้ ซึ่งได้แก่
    • ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term)
    • ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life)
    • ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment)
    • ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-Linked)
    • โดยกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนนั้น ส่วนของเบี้ยประกันที่จะนำมาลดหย่อนภาษีได้มีเพียง 2 ส่วน คือ
         - ค่าการประกันภัย
         - ค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์

  2. ประกันบำนาญ เป็นประกันแบบที่ให้ความคุ้มครองในรูปแบบการการันตีรายได้หลังเกษียณ โดยจะมีกำหนดให้จ่ายเบี้ยประกันต่อเนื่องไปจนกว่าจะเริ่มรับเงินบำนาญ (อย่างน้อยสุดเมื่ออายุ 55 ปี) แล้วจะการันตีเงินเกษียณเป็นงวดรายปีไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบสัญญา

  3. ประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นประกันในส่วนที่ให้ความคุ้มครองสุขภาพ ทั้งกรณีเจ็บป่วยด้วยโรคภัยต่าง ๆ และด้วยอุบัติเหตุ เฉพาะในส่วนที่ให้ความคุ้มครองในกรณีต่อไปนี้เท่านั้น
    • ส่วนที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บปวดและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
    • ประกันอุบัติเหตุ เฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะและการแตกหักของกระดูก
    • ประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)
    • ประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long-Term Care)

สิทธิในการลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิิต

  1. กรมธรรม์ประกันชีวิตทั่วไปค่าเบี้ยประกันชีวิตของตัวผู้มีเงินได้เอง นำมาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินฝากแบบมีประกันชีวิตแล้วก็ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
    • กรมธรรม์ประกันชีวิต ที่ทำก่อนวันที่ 1 มกราคม 2552 สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตทั้งหมด (รวมสัญญาเพิ่มเติม)
    • กรมธรรม์ประกันชีวิต ที่ทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ลดหย่อนได้เฉพาะเบี้ยประกันชีวิต
    • เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
    • เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีผลประโยชน์เงินคืนไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี หรือหากมีการจ่ายเงินคืนตามช่วงระยะเวลา เงินคืนที่ได้รับนั้นต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วงเวลา
    • กรมธรรม์นั้นต้องออกจากบริษัทประกันชีวิตที่ประกอบกิจการในประเทศไทย

  2. กรมธรรม์ประกันชีวิตคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ค่าเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งคู่สมรสนี้จะต้องสมรสมาแล้วตลอดปีภาษีนั้นๆ โดยใช้รายละเอียด และหลักการแบบเดียวกับประกันชีวิตทั่วไปของผู้มีรายได้

  3. กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ถ้าหากไม่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนสำหรับประกันชีวิตแบบทั่วไป ก็สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปหักในส่วนของเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปให้ครบ 100,000 ก่อนได้ ซึ่งจะทำให้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุดถึง 300,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หรือหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
    • เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
    • ต้องได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญตั้งแต่อายุ 55 - 85 ปี หรือกว่านั้น
    • ผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้ว ก่อนได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญ
    • ต้องได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญเป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอขณะมีชีวิตอยู่
    • กรมธรรม์นั้นต้องออกจากบริษัทประกันชีวิตที่ประกอบกิจการในประเทศไทย

  4. เบี้ยประกันสุขภาพของผู้มีรายได้ หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปและเงินฝากแบบมีประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท

  5. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
    • ผู้ชำระเบี้ยต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา มารดา
    • บิดา มารดา ต้องไม่มีรายได้ หรือมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาท
    • ผู้ชำระเบี้ย หรือบิดา หรือมารดา คนใดคนหนึ่งต้องอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 180 วัน
    • กรณีมีหลายคนร่วมชำระเบี้ยประกันสุขภาพของบิดา มารดา ให้เฉลี่ยหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดา มารดาตามจำนวน แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท

  6. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
    • คู่สมรสที่ไม่มีรายได้นั้นต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา มารดา
    • บิดา มารดา ต้องไม่มีรายได้ หรือมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาท
    • ผู้ชำระเบี้ย หรือบิดา หรือมารดา คนใดคนหนึ่งต้องอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 180 วัน
    • กรณีมีหลายคนร่วมชำระเบี้ยประกันสุขภาพของบิดา มารดา ให้เฉลี่ยหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดา มารดาตามจำนวน แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท

สอบถามรายละเอียด


 
 
โทรติดต่อ 081-3736386
ช่องทางติดต่อ Tiktok ปราบ ประกันชีวิต
ช่องทางติดต่อ Line OA ปราบ ประกันชีวิต
ช่องทางติดต่อ Facebook ปราบ ประกันชีวิต
เพิ่มเพื่อนด้วย Line OA
 

คำเตือน: ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
สงวนลิขสิทธิ์ © 2566 ทีมงานตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาด้านการเงิน ปราบ ประกันชีวิต
เว็บไซต์นี้ไม่ใช่เว็บไซต์ของบริษัท เอไอเอ จำกัด (เอไอเอ) หากต้องการติดต่อ บ. เอไอเอ กรุณาคลิก www.aia.co.th